ภาษีที่อัตราการเสียภาษีถูกกำหนดโดยรัฐบาลต่อรายได้ที่บุคคล ธุรกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในเขตอำนาจกฎหมายกำหนดไว้ ภาษีเงินได้เป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลักของรัฐบาลเพื่อใช้ในการสนับสนุนบริการสาธารณะและโครงการต่าง ๆ โดยภาษีเงินได้ มีสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยปกติแล้วภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเกี่ยวของกับประชาชนทั่วไปมากกว่า เพราะว่าทุกคนก็ไม่ได้จะเป็นผู้ประกอบการกันทั้งหมด
ภาษีมูลค่าเพิ่มคือการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ขาย โดยตามกฎหมายประเภทภาษีนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับสรรพากรในเวลาที่กำหนด โดยใช้ ภ.พ.30 (เอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย) ในการยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นอีกหนึ่งเรื่องภาษีที่นิติบุคคลต้องทำความเข้าใจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการทำบัญชี ที่สำคัญ อย่างที่เกริ่นไปบ้างแล้วว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายเงิน ให้กับผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7-15 ของทุกเดือน โดยใช้แบบ ภงด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภงด.53 (หัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคล) โดยประเภทภาษีหัก ณ ที่จ่าย อัตราภาษีที่ต้องหัก จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเราจ่ายให้ใครและจ่าย ค่าอะไร เช่น ค่าบริการ หัก ณ ที่จ่าย 3%, ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5%, ค่าขนส่ง หัก ณ ที่จ่าย 1% เป็นต้น และผู้หักจะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหัก หนังสือฉบับนี้ผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืน จากรัฐหรือไปลดภาระภาษีได้
ยกเว้นหากสินค้าหรือบริการยอดเงินไม่ถึง 1,000 บาทในการจ่ายเงินแต่ละครั้ง ผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี แต่ถ้าหาก มีการจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้ยอดเงินแต่ละครั้งจะไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย อยู่ดี เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ต้องจ่ายทุกเดือน ถึงแม้ยอดแต่ละครั้ง ไม่ถึง 1,000 บาท แต่รวมกันหลายยอดแล้วเกิน 1,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บแบบเฉพาะธุรกิจ บางธุรกิจเท่านั้น โดยทั่วไป เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธรุกิจให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น รายละเอียดจะอยู่ในกฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าทำธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะก็จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการยื่นภาษี
สามารถดูรายการธุรกิจเฉพาะจากเว็บไซต์ของกรมสรรพกรได้ที่นี่ https://www.rd.go.th/683.html