ภาษีมูลค่าเพิ่มคือการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ขาย
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถทำได้ 2 ช่องทางได้แก่
1. การยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษโดยยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ :ซึ่งเอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้
1.1 แบบคำขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ พร้อมลายเซ็นผู้มีอำนาจลงนาม
1.2 หลักฐานแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการได้แก่
- สัญญาเช่าอาคารที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการปิดอากรแสตมป์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของให้ใช้โดยไม่ได้ค่าตอบแทน)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
- สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม เช่น การเป็นเจ้าบ้าน สัญญาซื้อขาย คำขอเลขที่บ้าน ใบโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าช่วง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่า)
1.3 แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
1.4 หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
1.5 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม
1.6 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์
1. แสดงชื่อสถานประกอบการ+ทะเบียนที่ตั้ง (ป้ายบริษัท) ณ สถานประกอบการให้เห็นเด่น และชัดเจน
2. ยื่นคำร้องขอจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบ ภพ.01 และ ภพ.01.1
3. ตรวจสอบการอนุมัติคำร้อง ตามข้อ 2. ให้เป็นผู้ประกอบการโดยทาง E-mail ตามที่ระบุไว้ใน ภพ.01
4. สรรพากรพื้นที่ จะระบุเอกสารสำหรับการจัดเตรียมใน E-mail ตามข้อ 3. เพื่อเอกสารสำหรับการอนุมัติ ภ.พ.20
โดยมีเอกสารที่จำเป็นที่ต้องจัดเตรียมดังนี้1. หนังสือรับรองของบริษัท ฉบับเต็ม
2. สำเนาทะเบียนที่ต้องของบริษัท
3. แผนที่ต้องของกิจการ
4. รูปถ่าย ประกอบด้วย ดังนี้
- รูปถ่ายแสดงป้ายชื่อสถานประกอบการ+เลขที่บ้านที่ชัดเจน 2-3 รูป
- รูปถ่ายโครงสร้างของสถานประกอบการ เพื่อแสดงให้ทราบว่า เป็นลักษณะบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ เป็นต้น 2-3 รูป
- รูปถ่ายสำนักงานภายใน ของกิจการ 2-3 รูป
5. เมื่อผู้ประกอบการได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้ว จะมีสิทธิและหน้าที่เป็นผู้ประกอบการภายในวันที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการตามข้อ 3 หลังจากนั้นผู้ประกอบการจึงจะสามารถใช้ออกเอกสารใบกำกับภาษีขายได้
6. สรรพากรพื้นที่ มีจดหมายแจ้งให้มารับ หรือจัดส่งไปรษณีย์ ให้แก่ผู้ประกอบการ ไม่เกินระยะเวลา 45 วันทำการ ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) ภายใน 1 เดือนและต้องติดใบทะเบียน (ภพ.20) ในที่ที่มองเห็นได้ชัดเจน
7. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว มีรายการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ครั้งแรก ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการตามข้อ 3 และภายในวันที่ 15 ของทุกๆเดือน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละรอบเดือนจะคำนวณจากรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยนำผลลัพธ์ของภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ คือภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนนั้น
ส่วนกรณีที่นิติบุคคลได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 ยื่นแก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน) พร้อมกับต้องจัดทำเอกสารคือ รายงานภาษีซื้อภาษีขาย ประกอบแบบที่ยื่นเก็บไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งผู้ประกอบการ นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีแล้ว ในส่วนของการทำบัญชี จะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายด้วย ซึ่งสามารถอธิบายแยกย่อยได้ดังนี้
1.รายงานภาษีซื้อ เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น
2.รายงานภาษีขาย เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการที่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
โดยรายละเอียดในรายงานภาษีซื้อภาษีขายต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.1 รายงานภาษีซื้อ จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้
– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีซื้อ
– เดือนภาษีและปีภาษี
– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีซื้อ
– รายละเอียดของใบกำกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ สำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ มูลค่าสินค้า/บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.2 รายงานภาษีขาย จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้
– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีขาย
– เดือนภาษีและปีภาษี
– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีขาย
– รายละเอียดของใบกำกับภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ซื้อสินค้า / ผู้รับบริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า / ผู้รับบริการ สำนักงานใหญ่ / สาขาของผู้ขายสินค้าหรือผู้รับบริการ มูลค่าสินค้า / บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อครบกำหนดที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กิจการรวบรวมรายงานภาษีซื้อภาษีขาย พร้อมใบกำกับภาษีทั้งในส่วนของภาษีซื้อและภาษีขายแยกไว้เป็น 2 ส่วน จากนั้นสามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ.30 เองได้ผ่านทางช่องทางการยื่นภาษีออนไลน์ หรือไปยื่นแบบกระดาษที่สรรพากรพื้นที่ของกิจการ แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่าภาษีซื้อภาษีขายแบบไหนใช้ได้บ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความอื่น ๆ หรืออาจจะส่งให้สำนักงานบัญชีจัดการทำให้ได้เช่นกัน เพื่อให้รายงานภาษีซื้อภาษีขายเป็นไปอย่างถูกต้องที่สุด