วันสุดท้ายของการยื่นงบการเงินคือ 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่นประชุมผู้ถือหุ้น 30 เมษายน ต้องยื่นงบการเงินภายใน 30 พฤษภาคม เป็นต้น
ต้องบอกก่อนว่าอัตราค่าปรับในกรณียื่นงบการเงินล่าช้ามีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและระยะเวลาที่ล่าช้า โดยอัตราค่าปรับต่อไปนี้รวมค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน : 2,000 บาท
- บริษัทจำกัด : 2,000 บาท
- กิจการร่วมค้า : 2,000 บาท
- นิติบุคคลต่างประเทศ : 4,000 บาท
- บริษัทมหาชนจำกัด : 4,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน : 8,000 บาท
- บริษัทจำกัด : 8,000 บาท
- กิจการร่วมค้า : 24,000 บาท
- นิติบุคคลต่างประเทศ : 48,000 บาท
- บริษัทมหาชนจำกัด : 48,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน : 12,000 บาท
- บริษัทจำกัด : 12,000 บาท
- กิจการร่วมค้า : 36,000 บาท
- นิติบุคคลต่างประเทศ : 72,000 บาท
- บริษัทมหาชนจำกัด : 72,000 บาท
นอกจากค่าปรับตาม หากยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ยื่นงบการเงินตามด้านบนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเสียค่าปรับให้กรมสรรพากรอีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
- ค่าปรับอาญา ในกรณียื่นแบบเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ถ้าหากเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท
- หากไม่ยื่นงบการเงิน โดนค่าปรับอาญาอีก 2,000 บาท
ฉะนั้นแต่ละธุรกิจจะเสียค่าปรับไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจ และระยะเวลา โดยธุรกิจที่โดนค่าปรับหนักที่สุดจะเป็นนิติบุคคลต่างประเทศกับบริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้นผู้จัดทำบัญชีและผู้ประกอบการจะต้องจัดการยื่นงบบัญชีให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด