การจดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท ?

การจดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท ?

การจดทะเบียนบริษัทแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)

การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) คือ การเปิดบริษัทที่มีเจ้าของเพียงคนเดียวไม่มีพนักงาน เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กที่มูลค่าไม่สูงมาก เช่น ขายของออนไลน์ ค้าขายแบบมีหน้าร้านขนาดเล็ก โดยเจ้าของกิจการจะมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ได้กำไรเต็มที่ แต่ถ้าขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างคนเดียวเช่นกัน

2. การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล เป็นกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยการตัดสินทุกอย่างจะต้องผ่านความเห็นชอบจากเจ้าของกิจการทุกคน แต่ออกมาในนามของบริษัทเหมาะสำหรับกิจการขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

2.1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ

ห้างหุ้นส่วนที่เจ้าของกิจการทุกคนมีสิทธิ์จัดการกิจการและแบ่งปันผลกำไรจากกิจการ รวมทั้งรับผิดชอบภาระหนี้สินร่วมกันแบบไม่จำกัดจำนวน โดยจะจดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่จดก็ได้

2.2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

กิจการที่มีเจ้าของหรือหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ซึ่งแบ่งผู้ถือหุ้นออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. หุ้นส่วนแบบจำกัด คือ หุ้นส่วนที่รับผิดชอบหนี้สินจากกิจการแบบจำกัดโดยไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง โดยหุ้นส่วนประเภทนี้จะไม่มีสิทธิ์เข้าจัดการงาน หรือตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่สามารถออกความเห็น เป็นที่ปรึกษา หรือสอบถามการดำเนินงานได้

2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัด คือ หุ้นส่วนที่รับผิดชอบหนี้สินร่วมกันทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ตามกฎหมายกำหนดว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดอย่างน้อย 1 คน โดยหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีสิทธิ์เข้าจัดการงาน หรือตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วนได้อย่างเต็มที่

2.3. บริษัทจำกัด

กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงร่วมธุรกิจกันเพื่อหากำไร โดยบริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งข้อดีของบริษัทจำกัด คือ มีความเชื่อถือในระยะยาว ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินเงินทุนค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ ไม่ต้องรับผิดชอบเกินกว่าที่ลงทุนไป